วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การปลูกเห็ดนางฟ้า (ภูฏาน)




เห็ดนางฟ้า (ภูฏาน)
เห็ดนางฟ้า
1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเห็ด

1.1 เห็ดเป็นราชั้นสูง เพราะมีวิวัฒนาการสูงกว่าราชนิดอื่น ๆ และมีวงจรชีวิตที่สลับซับซ้อนกว่าเชื้อราทั่วไป เริ่มจากสปอร์ซึ่งเป็นอวัยวะหรือส่วนที่สร้างเซลขยายพันธ์ เมื่อตกไปในสภาพแว้ดล้อมที่เหมาะสมจะงอกเป็นใยและกลุ่มใยรา เจริญพัฒนาเป็นกลุ่มก้อน เกิดเป็นดอกเห็ดอยู่เหนือพื้นดิน บนต้นไม้ ขอนไม้ ซากพืช มูลสัตว์ ฯลฯ เมื่อดอกเห็ดโตขึ้นก็จะสร้างสปอร์ซึ่งจะปลิวออกเป็นใยราและเป็นดอกเห็ดได้อีก

1.2 เห็ดมีบทบาทในการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการย่อยสลายสิ่งตกค้างจากซากพืช ซึ่งเป็นการลดปริมาณของเสียที่เกิดจากพืชและสัตว์โดยธรรมชาติ ฉะนั้นการเพาะเห็ดจึงทำได้ง่ายเพราะสามารถนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเช่น ขี้เลื่อย ฟางข้าว เปลือกมันสำปะหลัง ฯลฯ มาใช้ในการเพาะเห็ดได้

2. ชื่อและถิ่นกำเนิดของเห็ดนางฟ้า

“เห็ดนางฟ้า” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในประเทศไทย คนไทยบางคนเรียกเห็ดนางฟ้าว่า “เห็ดแขก” เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดแถบเทือกเขาหิมาลัย กล่าวคือมีผู้พบเห็นครั้งแรกว่าเห็ดนี้ขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุในแถบเมืองเจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer และมีชื่อสามัญว่า Sajor-Caju Mush room

3. เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดในสกุลนางรมเช่นเดียวกันกับเห็ดเป๋าฮื้อ ฉะนั้นลักษณะดอกเห็ดจึงคล้ายดอกเห็ดเป๋าฮื้อ ด้านบนของดอกมีสีขาวนวลถึงสีน้ำตาลอ่อน หมวกดอกเนื้อแน่นสีคล้ำ ก้านดอกสีขาวขนาดยาวไม่มีวงแหวนล้อมรอบ ครีบดอกสีขาวเส้นใยค้อนข้างละเอียด เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อสีของเห็ดนางฟ้าจะอ่อนกว่า กลีบดอกอยู่ชิดกันมากกว่า ในอินเดียมีขนาดตั้งแต่ 5 – 14 เซนติเมตร และมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 -120 กรัม ส่วนเห็ดนางฟ้าในประเทศไทยที่เพาะโดยโครงการส่งเสริมการค้าและการเพยแพร่ความรู้ที่มูลนิธิปราณี โอสถานนท์ ให้ความสนับสนุนมีขนาด 13.5 เซนติเมตร และมีหนัก 2 กรัม

4. ประวัติการเลี้ยงและการนำเห็ดนางฟ้าและเห็ดสายพันธ์อื่น ๆ เข้าประเทศไทย

4.1 เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นในประเทศอินเดียเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2496 หรือ 61 ปี มาแล้ว กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้นำเชื้อมาทดลองในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ 2520 ผลการทดลองแสดงว่าเห็ดสามารถเติบโตได้ดี

4.2 นอกจากนั้นแล้วยังมีผู้นำเห็ดจากประเทศภูฐานเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยคือเห็ดนางฟ้าภูฐาน ซึ่งมีหลายสายพันธ์และเป็นที่นิยมกันมากในการเพาะเห็ดเพื่อการค้า

5. สรรพคุณของเห็ดนางฟ้า

5.1 สรรพคุณทางยา : ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดไขมันในเส้นเลือด

5.2 คุณค่าทางอาหาร : เห็ดรับประทานได้ทุกชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักหลายชนิด เห็ดนางฟ้า 100 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยโปรตีน 23 กรัม ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรท 5.7 กรัม ในอะชิน 2.5 มิลลิกรัม

5.3 การใช้เห็ดนางฟ้าในการปรุงอาหาร : เห็ดนางฟ้ามีเนื้อแน่น รสหวานอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน ใช้ในการปรุงอาหารได้หลายชนิดเช่น ชุบแป้งทอด ผัด ห่อหมก ยำ เมี้ยง แหนมสด ใส่ในต้มโค้งหรือต้มยำ ทำเห็ดแดดเดียวและนำไปตากแห้งเก็บไว้เป็นอาหารได้


                    


วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

โครงการ นำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหาร

                                       
                                       การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป

                                   
                               

             การนำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูปจะช่วยป้องกันการล้นตลาดของผลิตผลสด ซึ่งช่วยยกระดับราคาผลิตผล ไม่ให้ตกต่ำ การเพิ่มมูลค่าของผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นอาหารระดับอุตสาหกรรม ที่สามารถรับวัตถุ ดิบเพื่อผลิตเป็นอาหารจำนวนมากได้ การผลิตอาหารให้ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การส่งเสริม ให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารให้เป็นที่ยอมรับ และสามารถขยายตลาดการค้าออกไปสู่ต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มพูน รายได้ให้แก่ประเทศได้เป็นอย่างดี
             เทคนิคในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรมีหลายขั้นตอน แต่ที่สำคัญจะเป็นแรงจูงใจสามารถทำผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า คุ้มราคา และผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีความอร่อย ไม่ใช่ทำครั้งแรกอร่อยทุกคน ติดใจในรสชาติ สามารถทำรายได้ให้มากมาย พอเริ่มมีคนรู้จัก คุ้นตา ชินต่อรสชาติ ก็จะเริ่มทำผลิตภัณฑ์เพื่อให้มี ผลกำไรมาก ๆ ความสำคัญของรสชาติอาจด้อยไป สิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนเสื่อมความศรัทธาได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องคำนึงถึง
       1. ความซื่อสัตย์ต่อตนเองและลูกค้า
       2. ต้องมีการวางแผนผลิตสินค้านั้นล่วงหน้า และเหมาะสมกับฤดูกาลเพื่อสินค้านั้นจะมีต้นทุนต่ำขายได้ราคาสูง
       3. ต้องมีความสนใจ และตั้งใจต่อการทำผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อให้มีความสม่ำเสมอของรสชาติและคุณภาพที่ดี
       4. ต้องคำนึงถึงความสะอาดความปลอดภัยเสมอ

       5. ต้องมีความรู้ในสารปรุงแต่งอาหารที่ใช้อย่างแม่นยำ การแปรรูปผลิตผลการเกษตร ถ้าต้องการให้ ผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพดี 



























เมนูผัดผักน้ำมันหอยให้เด็กๆหอพัก







            

โครงการ ปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)

       


การปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics)



         การปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืชโดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน

         ซึ่งในการปลูกพืชไร้ดิน มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำ แต่การปลูกพืชไร้ดินให้ปลอดสารนั้นต้องงดให้สารละลายในอาทิตย์สุดท้ายและให้ดูดซึมน้ำเปล่าในอาทิตย์สุดท้าย






ปลูกผักกาดเขียว




ปลูกผักปุ้งจีน







โครงการ ปลูกพืชผักในถาดภาชนะ


การปลูกพืชผักในถาดภาชนะ (ต้นอ่อนทานตะวันงอก)


         ทุกท่านเคยได้ยินหรือรู้จักผัก ออร์แกนิก ที่มาจากการเพาะเมล็ดธัญพืชต่าง ๆ จนได้ต้นอ่อน เช่น ข้าวกล้องงอกจากการเพาะข้าวกล้อง ถั่วงอกจากการเพาะเมล็ดถั่วเขียว ถั่วงอกหัวโตจากการเพาะเมล็ดถั่วเหลือง หรือผักโต้วเหมี่ยวจากการเพาะเมล็ดถั่วลันเตา เป็นต้น ซึ่งต้นอ่อนจากธัญพืชเหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ เป็นผักอนามัยไร้สารพิษ แถมยังอร่อยอีกด้วย
          ในวันนี้เราจะพามารู้จักกับต้นอ่อนจากธัญพืชอีกชนิดหนึ่งคือ ทานตะวันงอก หรือต้นอ่อนทานตะวัน จากการเพาะเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นผักทางเลือกใหม่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงทีเดียว มีโปรตีนสูงกว่าถั่วชนิดอื่น ๆ มีวิตามินหลายชนิดทั้ง วิตามินเอ วิตามินอี ที่สามารถช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ วิตามินบี 1 บี 6 บี 12 ที่ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อมด้วย










เก็บเกี่ยวผลผลิต